เป้าหมายหลัก

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

main

ผังมโนทัศน์

พื้นฐานทักษะด้านคณิตศาสตร์
             คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นประสบการณ์ที่ครูจัดให้เด็ก  ซึ่งนอกจากจะอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก  เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในคณิตศาสตร์ แล้วยังจะต้องอาศัยกิจกรรมที่มีการวางแผนและเตรียมการอย่างดีจากครูด้วย  ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า  แก้ปัญหา  เรียนรู้   และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  มีทักษะและมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการศึกษาที่สูงขึ้น  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

Understanding Goal (เป้าหมายของความเข้าใจ) : มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
1. มีความคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์: มีความรู้ ความเข้าใจและความรู้สึกเชิงจำนวน   
- รู้ค่าของจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- สัญลักษณ์และเรียงลำดับจำนวน
- การรวมกลุ่ม /แยกกลุ่ม
- การคงค่าของจำนวน
  2. มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
-  ความยาว น้ำหนัก เงิน และเวลา
- เข้าใจตำแหน่งทิศทางและระยะทาง (ไกล ใกล้  ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง ฯลฯ)
- เปรียบเทียบ (มากว่า น้อยกว่า สั้นกว่า ยาวกว่า หนักกว่า เบากว่าฯลฯ)
3. มีความคิดพื้นฐานทางเรขาคณิต
- จำแนกรูปเรขาคณิต วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ฯลฯ
- สร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปทรงเรขาคณิต
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปความสัมพันธ์
- ต่อแบบรูปที่กำหนด
- สร้างเพิ่มเติมได้อย่างสร้างสรรค์
5. สามารถร่วมให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิ
- แผนภูมิวงกลม แท่งอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
 - การแก้ปัญหา
- การให้เหตุผล
-  การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
- การนำเสนอ
            - มีความคิดสร้างสรรค์
           - สามารถเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตปะจำวันได้เป็นอย่างดี     


ปฏิทินการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ระดับชั้นอนุบาล 2 Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

Quarter


สัปดาห์

หน่วยย่อย

สาระ

จำนวนชั่วโมง









1
1
- สัญลักษณ์แทนจำนวน 1-10 และ 0
- ลำดับจำนวน  











-          จำนวนและการดำเนินการ

-          การวัด








2 ชม./สัปดาห์

2 - 3
ค่าของจำนวน
-                   จำนวนนับ 1 – 10 และ 0
-                   การได้มาของจำนวนตัวเลข
-                   ค่าประจำหลัก (1 สิบ = 10 กับ 0 หน่วย = 0)


4- 5
การเปรียบเทียบจำนวนไม่เกิน 10
-                   มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
-                   สั้นกว่า ยาวกว่า ไกล ใกล้หนักกว่า เบากว่า
-                   การได้มาของจำนวนตัวเลข
-                   นับลด นับเพิ่มที่ละ 1




6 - 8
การบวก ลบ เลข 1 หลัก  ไม่เกิน 10
       - บวก ลบ โดยการกระจาย เลข 1 หลัก  ไม่เกิน 10
       - การคงค่าของจำนวนโดย การกระจาย 
       - โจทย์ปัญหา สถานการณ์
บวก ลบโดยการกระจาย เลข 1 หลัก ไม่เกิน 10

9
ทบทวนโจทย์ปัญหา สถานการณ์  การให้เหตุผล




มาตรฐานและตัวชี้วัดการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป.1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
อนุบาล (ปี)
อนุบาล (ปี)
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านและเขียนตัวเลขอินดูอารบิก ตัวเลขไทยแสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน




การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10


1.นับปากเปล่า 1-10 ได้
2.บอกจำนวนของสิ่งต่างๆไม่เกิน 10 สิ่ง โดยการนับ
3.แสดงสิ่งต่างๆตามจำนวนที่กำหนดให้ตั้งแต่ 1-10
4.อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก แสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ 1- 10
5.เปรียบเทียบจำนวนของสิ่งต่างๆสองกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 10ว่ามีจำนวนเท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า

6.บอกลำดับที่ของสิ่งต่างๆไม่เกิน สิ่ง
7.ระบุสิ่งที่อยู่ในอันดับที่กำหนดให้
8.บอกจำนวนทั้งหมดที่เกิดจากการรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
9.บอกจำนวนที่เหลือ เมื่อแยกกลุ่มย่อยออกจาก กลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
1.นับปากเปล่า 1-20
2.นับปากเปล่าถอยหลัง 10 ถึง 1
3.บอกจำนวนของสิ่งต่างๆไม่เกิน 20 สิ่ง
โดยการนับ
4.แสดงสิ่งต่างๆตามจำนวนที่กำหนดให้ตั้งแต่ 1-20
5.อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก แสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ 1- 20
6.เปรียบเทียบจำนวนของสิ่งต่างๆสองกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 20 ว่ามีจำนวนเท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า

7.บอกลำดับที่ของสิ่งต่างๆไม่เกิน 10 สิ่ง
8.ระบุสิ่งที่อยู่ในอันดับที่กำหนดให้
9.บอกจำนวนทั้งหมดที่เกิดจากการรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 20
10.บอกจำนวนที่เหลือ เมื่อแยกกลุ่มย่อยออกจาก กลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 20







สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
อนุบาล 1
อนุบาล 2
ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
- การเปรียบเทียบความยาว
- การวัดความยาวโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบน้ำหนัก
- การชั่งโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียบเทียบปริมาตร
- การตวงโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- การเรียงลำดับปริมาตร
เงิน
-ชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้ บอกเกี่ยวกับวัน

1.เรียงลำดับความยาว/ความสูง ของสิ่งต่างๆไม่เกิน สิ่ง
2.เปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ โดยใช้คำ ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน
3. เรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ ไม่เกิน สิ่ง
4.เปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ โดยใช้คำ หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน
5.บอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลาง เช่น เช้า เที่ยง เย็น วันนี้ พรุ่งนี้ เมื่อวานนี้
6.เรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ตามช่วงเวลา

1.วัดและบอกความยาว/ความสูงของสิ่งต่างๆ ที่กำหนดให้ โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน เช่น นิ้วมือ ก้าวต่อก้าว คืบ ศอก ฯลฯ
2.ชั่งและบอกน้ำหนักของสิ่งต่างๆ ที่กำหนดให้ โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
3.ตวงและบอกปริมาตรของสิ่งต่างๆที่กำหนดให้ โดยใช้เครื่องมือปละหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
4.บอกชนิดและค่าของเงินเหรียญ บาท บาท บาท 10 บาท ธนบัตร 20 บาท
5.เรียนรู้วิธีการใช้เงิน เช่น การซื้อ
การขาย











สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1: รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
อนุบาล 1
อนุบาล 2
ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
1.บอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ที่กำหนด โดยใช้คำ ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหน้า ข้างหลัง และสิ่งต่างๆ ตามตำแหน่งที่กำหนด

1.บอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆที่กำหนด โดยใช้คำ ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหน้า ข้างหลัง ระหว่างข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล และแสดงสิ่งต่างๆ ตามตำแหน่งทิศทาง และระยะทางที่กำหนด

มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
อนุบาล 1
อนุบาล 2
รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม มุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
- รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
1.แสดงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันที่เหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก ที่กำหนดให้
2.จำแนก ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม มุมฉาก
3.สร้างสรรค์งานจากทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
1.แสดงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันที่เหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก ที่กำหนดให้
2.จำแนก ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม มุมฉาก
3.แสดงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันที่เหมือนหรือคล้าย รูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ที่กำหนดให้
4.จำแนก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
5.บอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาการตัด ต่อเติม พับหรือคลี่ รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
4.สร้างสรรค์งานจากทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม




สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1: เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
อนุบาล 1
อนุบาล 2
แบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างมดอย่างหนึ่ง
1.จับคู่สิ่งที่เหมือนกัน ตามรูปร่างรูปทรง และสี
2.วางแบบรูปให้เหมือนกับแบบรูปที่กำหนด
3.สร้างแบบรูปตามความคิดและจินตนาการของตนเอง
1.จับคู่สิ่งที่เหมือนกัน ตามรูปร่างรูปทรง และสี
2.ต่อแบบรูปให้เข้าชุดกับแบบรูปที่กำหนด
3.สร้างแบบรูปตามความคิดและจินตนาการของตนเอง

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
อนุบาล 1
อนุบาล 2
การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
-การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
1.มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิอย่างง่าย
1.มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมดยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น